วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Brand Communication กับ โครงการ “แบ่งปันรอยยิ้มสู่ชุมชน /Smile Community Project”


          

               โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาสต 401 การวิเคราะห์และทำความเข้าใจเชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องของภาควิชาการสื่อสารตราคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพที่ผู้เรียนจะศึกษาและทำความเข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับแบรนด์ สินค้าหรือองค์กรอย่างลึกซึ้ง เพื่อเข้าถึงความต้องการภายใน คุณค่าที่ยึดถือเบื้องลึกในจิตใจ การตอบสนองทางจิตวิทยา  ความเชื่อ  ทัศนคติ และพฤติกรรมของกลุ่มคนที่หลากหลาย เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์คุณค่าร่วม (Shared Value) และสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับแบรนด์หรือองค์กรซึ่งการพัฒนาแบรนด์ให้ยั่งยืนในยุคการตลาด 3.0 ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะใส่ใจความเป็นมนุษย์ นอกเหนือจากการมุ่งผลกำไรตลอดจนทำความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหาของ “ชุมชน” และ “สังคม” เพราะแบรนด์ที่ดีต้องลดความเหลื่อมล้าในสังคม มีพันธกิจในการดูแลรับผิดชอบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มผู้บริโภคคู่ค้า พนักงาน ชุมชนในท้องถิ่นและสังคมโดยรวม


               คณะนิเทศศาสตร์ได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นการแสวงหาความรู้แบบ“ปัญญาปฏิบัติ” กำหนดให้ผู้เรียนรู้จักนำความรู้เชิงทฤษฎีมาลงมือปฏิบัติ โดยค้นคว้าวิจัยเพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติม รู้จักเลือกใช้ข้อมูล สร้างวิจารณญาณในการวิเคราะห์และสังเคราะห์มีความสามารถในการจัดการ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นและหน่วยงานภายนอก
โครงการ“แบ่งปันรอยยิ้มสู่ชุมชน: Smile Community Project จึงเป็นการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ
ของนักศึกษาภาควิชาการสื่อสารตราชั้นปีที่ 3 ที่จะเรียนรู้การทางานเป็นทีมประมวลความรู้ที่ได้เรียนมาเพื่อศึกษาความต้องการ และบริการวิชาการให้กับชุมชนที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ


               โครงการ “แบ่งปันรอยยิ้มสู่ชุมชน: Smile Community Project” เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการ “ห้องเรียนชีวิต จิตอาสา” ปี 2554 ที่จัดขึ้นโดยภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ ร่วมกับ แกนนาชุมชนท้องถิ่น 6 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนเทศบาลเมืองท่าโขลง ชุมชนเทศบาลเมืองคลองหลวง ชุมชนเชียงรากน้อย ชุมชนสามโคก ชุมชนบางพูด และชุมชนคลองสี่ เนื่องจากในการดาเนินโครงการปีที่แล้ว พบว่า ชุมชนเชียงรากน้อยมีความพร้อมและมีศักยภาพในการพัฒนาชุมชนตนเองให้เป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน ผู้สอนรายวิชา สต 401 ภาควิชาการสื่อสารตรา จึงริเริ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning) ระหว่างนักศึกษาภาควิชาการสื่อสารตรากับชุมชน เพื่อให้นักศึกษาได้ทาความรู้จัก ทาความเข้าใจ ศึกษาความต้องการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับคนในชุมชน และสร้างสรรค์กิจกรรมที่ดีให้แก่ชุมชนเชียงรากน้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น